วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของการปฐมพยาบาล








    การปฐมพยาบาล หมายถึง ... การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ที่ได้รับอุบัติภัยหรือเจ็บป่วย
กระทันหันโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายน้อยลง ก่อนที่จะนำส่งโรง พยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาพยาบาลต่อไป
ความสำคัญของการปฐมพยาบาล ในท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลแพทย์หรือโรงพยาบาล การรู้เรื่องการปฐมพยาบาลมีความจำเป็นมาก อุบัติภัยและการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีในระยะแรก จะช่วยลดการเสียชีวิตหรือความพิการทุพลภาพของผู้ป่วยลงได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาได้ และยังเป็นการเตรียมผู้ป่วยก่อนถึงมือแพทย์อีกด้วย ดังนั้นเราควรเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาล และสามารถปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
 

  หลักทั่วไปของการปฐมพยาบาล ผู้ทำการปฐมพยาบาลจะต้องควบคุมสติของตนเองให้ได้ อย่าตื่นเต้นตกใจต่อเหตุการณ์ที่ได้พบเห็น และต้องตรวจดูอาการของ ผู้ป่วยเสียก่อนว่าได้รับอันตรายอะไรบ้าง ซึ่งเราจะสามารถทราบอาการของผู้ป่วย โดยการ
1. การสอบถามจากตัวผู้ป่วย
2. สอบถามจากผู้เห็นเหตุการณ์
3 . สังเกตจากสิ่งแวดล้อม
4. สังเกตจากอาการของผู้ป่วย





ความสำคัญของการปฐมพยาบาล





ความสำคัญของการปฐมพยาบาล มีดังนี้


1. เป็นการช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วย การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและรวดเร็วสามารถช่วยลดอันตรายที่รุนแรงหรือลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เช่น การช่วยผายปอดผู้ที่หยุดหายใจ การห้ามเลือด เป็นต้น

2. ช่วยป้องกันไ่ม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายมากขึ้น การปฐมพยาบาลจะเป็นการลดอันตรายจากการบาดเจ็บ ตลอดจนช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย เช่น การช่วยเหลือผู้ที่หมดสติโดยให้นอนคะแคงเพื่อไม่ให้สำลักน้ำลายหรือเสมหะเข้าไปในทางเดินหายใจ หรือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่กระดูกหักอย่างถูกวิธีช่วยให้กระดูกไม่ไปกดทับส่วนสำคัญ เป็นต้น

3. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องจะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทรมานจากการได้รับบาดเจ็บต่างๆ เช่น การใช้น้ำล้างตาผู้ที่ถูกสารเคมีเข้าตาซึ่งช่วยลดอาการระคายเคืองและลดความเจ็บปวดลงได้ หรือการเข้าเฝือกชั่วคราวให้ผู้ที่กระดูกขาหักเพื่อให้ส่วนที่หักเคลื่อนไหวได้น้อยที่สุดและไม่ไปทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณรอบๆ และลดความเจ็บปวดได้อีกด้วย เป็นต้น

4. ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยมักมีความกังวลเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บของตนเอง ดังนั้นนอกจากการช่วยเหลือโดยการปฐมพยาบาลแล้ว การดูแลทางด้านจิตใจก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการให้กำลังใจ ปลอบโยน การอยู่เป็นเพื่อนโดยไม่ละทิ้ง ตลอดจนการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้องและรวดเร็วเพื่อส่งต่อผู้ป่วยหรือเจ็บป่วยไปสู่สถานที่รักษาที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยหรือเจ็บป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น





วัตถุประสงค์ที่สำคัญในญการปฐมพยาบาล

    



การปฐมพยาบาล มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ

1. เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่างๆในขณะนั้น
 
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย

3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว

4. เพื่อป้องกันความพิการ หรือความเจ็บปวดอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง







สิ่งที่ผู้ปฐมพยาบาลควรปฏิบัติ





สิ่งที่ผู้ปฐมพยาบาลควรปฏิบัติ

1. ห้ามเลือดถ้ามีเลือดไหลช่วยผายปอดเมื่อจำเป็น
2. ถ้าหยุดหายใจให้รีบผายปอดทันทีจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจเองได้
3. ไม่ควรสัมผัสบาดแผลที่มีเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยโดยตรง
4. ในกรณีที่ผู้ป่วยใส่ฟันปลอมควรนำออกในขณะที่ผู้ป่วยหมดสติ
5. ในกรณีที่ผู้ป่วยสลบหรือหมดสติห้ามให้ดื่มน้ำหรือกินยา
6. ถ้าสงสัยว่ามีกระดูกหักควรเข้าเฝือกชั่วคราวก่อนการเคลื่อนย้าย
7. ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยถ้าไม่จำเป็น
8. ในกรณีผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บสาหัสมาก ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด




ขอบเขตของผู้ทำการปฐมพยาบาล

  




ขอบเขตของผู้ทำการ ปฐมพยาบาล

ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ

1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น

2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนต์ เป็นต้น
2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น




ประโยชน์การปฐมพยาบาลเบื้องต้น






ประโยชน์ของการปฐมพยาบาล

1. เพื่อช่วยพยุงชีวิตเอาไว้ ได้แก่ ช่วยในการหายใจ ช่วยห้ามเลือด

2. ให้ผู้ป่วยคลายความทุกข์ทรมานและไม่ให้มีการบาดเจ็บมากขึ้นไปอีก

3. ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว ได้แก่ การดูแลและให้กำลังใจ การให้ยาแก้ปวด การให้ ความอบอุ่น
การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ แต่ถ้าหากได้รับการช่วยเหลือในเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยนั้น ย่งส่งผลดีต่อการรักษาพยาบาลในขั้นต่อไป ดังนั้นการปฐมพยาบาลจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกคนที่จะต้องเรียนรู้ไว้ เพื่อจะได้สามารถนำมาใช้ในการช่วยเหลือตนเองและคนรอบข้างได้อย่างถูกต้อง