วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฐมพยาบาล




การจัดชุดปฐมพยาบาล





ชุดปฐมพยาบาลประจำบ้าน คือเครื่องมือสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ต้องประกอบไปด้วยสามสิ่งคือ อุปกรณ์ทำแผล-ยา แผ่นความรู้แนวทางการปฐมพยาบาล และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน อย่างน้อยในชุดปฐมพยาบาลต้องมีทั้งสามสิ่งนี้ไว้สำหรับการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เช่น การบาดเจ็บจากการพลัดตก การชนกระแทก บาดแผลตัด-ฉีก-แทงทะลุจากวัสดุผลิตภัณฑ์ต่างๆ การบาดเจ็บจากความร้อน ไฟฟ้า สัตว์กัด และสารพิษ เป็นต้น

สิ่งจำเป็นข้อที่ 1 : เครื่องมือในกล่องปฐมพยาบาล
อุปกรณ์ทำแผลเป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบหลักของกล่องปฐมพยาบาล ประกอบด้วยเครื่องมือหลายอย่างที่จะใช้ล้างแผล ห้ามเลือด ปิดแผลป้องกันเชื้อโรค หยุดการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อ เครื่องมือเหล่านี้ควรจัดวางเป็นหมวดหมู่ หยิบหาง่าย และมีการตรวจเช็กอยู่สม่ำเสมอเพื่อหาอุปกรณ์ทดแทนเมื่อใช้ไป อุปกรณ์จำเป็นในชุดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นประกอบด้วย




1. ถุงมือ 1 คู่ สำหรับผู้ช่วยเหลือ




 เพื่อป้องกันมิให้ผู้ช่วยเหลือสัมผัสถูกเลือด อาเจียน สารคัดหลั่งต่างๆ
(อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล)หรือสารเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนตัวผู้บาดเจ็บ เพราะหลักการของผู้ช่วยเหลือที่ดีคือตนเองต้องปลอดภัยไว้ก่อน


2. ยาล้างแผล



 เช่น เบต้าดีน แอลกอฮอล์ หากล้างแผลด้วยน้ำสะอาด เช่น น้ำประปา น้ำดื่มสุกที่ทิ้งไว้
ให้เย็น หรือน้ำดื่มสะอาดแล้วไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเหล่านี้ชะล้างหรือเช็ดถูในบริเวณ
แผล เนื่องจากน้ำยาเหล่านี้จะทำลายเนื้อเยื่อได้ แต่สามารถใช้ทำความสะอาดรอบๆ แผลได้
โดยใช้น้ำยาเบต้าดีนเช็ดรอบแผลก่อนจะเช็ดออกด้วยแอลกอฮอล์เพื่อลดจำนวนแบคทีเรียที่อยู่รอบๆ
แผล


3. ผ้าทำแผล (ผ้าก๊อซ) 




ขนาดเล็ก 3 แผ่น ขนาดกลาง 3 แผ่น ขนาดใหญ่ 3 แผ่น ต้องเป็นแบบเก็บไว้ในซองพลาสติก ผ้าก็อซใช้สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว เพื่อป้องกันเชื้อโรค ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือใช้กดบาดแผลที่มีเลือดออกเพื่อห้ามเลือด ผู้ช่วยทำแผลควรล้างมือให้สะอาด เปิดซองห่อผ้าก๊อซ หยิบโดยปากคีบ หรือนิ้วมือ (ที่ล้างแล้ว) โดยสัมผัสเฉพาะส่วนริมๆ เท่านั้น ใช้ผ้าก๊อซให้เหมาะสมกับขนาดของแผล หากมีเลือดออกให้ปิดทับหลายแผ่นได้ยึดผ้าก๊อซกับผิวหนังโดยใช้เทปปิด 2-3แถบ อาจใช้ผ้ายืดพันทับ(คอนฟอร์ม) แต่ต้องไม่แน่นจนเกินไป


4. พลาสเตอร์เทปปิดแผลขนาดต่างๆ




 ใช้สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว


5. กรรไกร 





ใช้ตัดผ้าก็อซหรือตัดผ้าหรือขากางเกงเช่น เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

6. เทปติดแผล




7. ผ้าปิดตา 


 ใช้สำหรับการบาดเจ็บที่นัยน์ตา เช่น กระจกตาถูกบาด ฝุ่นละอองเข้าตา เป็นต้น


8. เข็มกลัด




 ใช้ติดผ้าสามเหลี่ยม ผ้าคล้องคอ ผ้ายืด 


9. สำลี ไม้พันสำลี 




ใช้สำหรับทายาล้างแผลรอบๆ แผล ซับเลือดในแผลที่เป็นรูลึก+


10. ผ้ายืด(อีลาสติกแบนเอด) 




ใช้สำหรับพันเมื่อเกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ ข้อ เพื่อลดการบวม ลดการเคลื่อนไหว หรือใช้พันยึดกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อดามกระดูก ผ้ายืดยังสามารถนำมาพันทับผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์ติดแผลเพื่อห้ามเลือด แต่ห้ามพันแน่นจนเกินไปเพราะทำให้อวัยวะส่วนปลายเกิดการบวมและขาดเลือดมาเลี้ยงได้


11. ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน 





ปัจจุบันใช้ผ้าคล้องแขนแทนเพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน


12. สมุดจดบันทึก





 เพื่อบันทึกอาการ ตำแหน่งที่บาดเจ็บ การรักษาที่ให้ไป เพื่อส่งต่อให้ผู้ดูแลรักษาต่อไป

13. ถุงพลาสติก 1 ใบ





 สำหรับใส่เศษขยะ เช่น ผ้าเปื้อนเลือด เป็นต้น


14. ยาฉุกเฉินสำหรับรับประทาน






 ยาที่ใช้รับประทาน อยู่ภายในกล่องปฐมพยาบาล โดยกล่องบรรจุยานี้ต้องปิดมิดชิดไม่เปิดได้โดยง่าย มีข้อความระบุข้างกล่องชัดเจนว่า เป็นยาสำหรับรับประทาน ควรมียาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น คือ
1. ยาลดไข้แก้ปวดสำหรับบาดแผลที่มีอาการปวด
2. ผงเกลือแร่สำหรับการบาดเจ็บที่มีการเสียเลือดมาก หรือบาดแผลพุพองจากความร้อนที่มีบริเวณกว้าง หรือผู้ที่มีอาการอาเจียนและท้องเสีย
3. ยากระตุ้นการอาเจียนชื่อ ไซรัปไอพิแคค อาจมีไว้ด้วยก็ได้ สำหรับผู้ที่กินสารพิษ แต่การใช้ต้องปรึกษา ศูนย์พิษวิทยาก่อน เพราะมีสารพิษบางตัวมีข้อห้ามไม่ให้กระตุ้นการอาเจียน เช่น น้ำยาล้างพื้นที่มีฤทธิ์กัด รุนแรง เป็นต้นสิ่งจำเป็น



ข้อที่ 2 : แผ่นความรู้แนวทางการปฏิบัติ

บาดแผลฟกช้ำ คล้ำเขียว บวม
1. ให้ประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือผ้าห่อถุงน้ำแข็งเป็นเวลา 15 นาที ทำซ้ำได้ใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อป้องกันอาการบวม
2. ภายหลัง 24 ชั่วโมง ให้ประคบคลึงด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นวันละ 4 ครั้ง เพื่อลดอาการบวมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. ใน 24 ชั่วโมงแรก ห้าม คลึง หรือนวดด้วยยาร้อน ของร้อน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น