วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของการปฐมพยาบาล








    การปฐมพยาบาล หมายถึง ... การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ที่ได้รับอุบัติภัยหรือเจ็บป่วย
กระทันหันโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายน้อยลง ก่อนที่จะนำส่งโรง พยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาพยาบาลต่อไป
ความสำคัญของการปฐมพยาบาล ในท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลแพทย์หรือโรงพยาบาล การรู้เรื่องการปฐมพยาบาลมีความจำเป็นมาก อุบัติภัยและการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีในระยะแรก จะช่วยลดการเสียชีวิตหรือความพิการทุพลภาพของผู้ป่วยลงได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาได้ และยังเป็นการเตรียมผู้ป่วยก่อนถึงมือแพทย์อีกด้วย ดังนั้นเราควรเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาล และสามารถปฐมพยาบาลได้อย่างถูกวิธีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นด้วย
 

  หลักทั่วไปของการปฐมพยาบาล ผู้ทำการปฐมพยาบาลจะต้องควบคุมสติของตนเองให้ได้ อย่าตื่นเต้นตกใจต่อเหตุการณ์ที่ได้พบเห็น และต้องตรวจดูอาการของ ผู้ป่วยเสียก่อนว่าได้รับอันตรายอะไรบ้าง ซึ่งเราจะสามารถทราบอาการของผู้ป่วย โดยการ
1. การสอบถามจากตัวผู้ป่วย
2. สอบถามจากผู้เห็นเหตุการณ์
3 . สังเกตจากสิ่งแวดล้อม
4. สังเกตจากอาการของผู้ป่วย





ความสำคัญของการปฐมพยาบาล





ความสำคัญของการปฐมพยาบาล มีดังนี้


1. เป็นการช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วย การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องและรวดเร็วสามารถช่วยลดอันตรายที่รุนแรงหรือลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เช่น การช่วยผายปอดผู้ที่หยุดหายใจ การห้ามเลือด เป็นต้น

2. ช่วยป้องกันไ่ม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายมากขึ้น การปฐมพยาบาลจะเป็นการลดอันตรายจากการบาดเจ็บ ตลอดจนช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการ ที่อาจเกิดขึ้นหลังจากประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย เช่น การช่วยเหลือผู้ที่หมดสติโดยให้นอนคะแคงเพื่อไม่ให้สำลักน้ำลายหรือเสมหะเข้าไปในทางเดินหายใจ หรือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่กระดูกหักอย่างถูกวิธีช่วยให้กระดูกไม่ไปกดทับส่วนสำคัญ เป็นต้น

3. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องจะช่วยลดอาการเจ็บปวดและทรมานจากการได้รับบาดเจ็บต่างๆ เช่น การใช้น้ำล้างตาผู้ที่ถูกสารเคมีเข้าตาซึ่งช่วยลดอาการระคายเคืองและลดความเจ็บปวดลงได้ หรือการเข้าเฝือกชั่วคราวให้ผู้ที่กระดูกขาหักเพื่อให้ส่วนที่หักเคลื่อนไหวได้น้อยที่สุดและไม่ไปทำลายเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณรอบๆ และลดความเจ็บปวดได้อีกด้วย เป็นต้น

4. ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวและกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยมักมีความกังวลเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บของตนเอง ดังนั้นนอกจากการช่วยเหลือโดยการปฐมพยาบาลแล้ว การดูแลทางด้านจิตใจก็เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการให้กำลังใจ ปลอบโยน การอยู่เป็นเพื่อนโดยไม่ละทิ้ง ตลอดจนการเคลื่อนย้ายอย่างถูกต้องและรวดเร็วเพื่อส่งต่อผู้ป่วยหรือเจ็บป่วยไปสู่สถานที่รักษาที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยหรือเจ็บป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น





วัตถุประสงค์ที่สำคัญในญการปฐมพยาบาล

    



การปฐมพยาบาล มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ

1. เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่างๆในขณะนั้น
 
2. เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย

3. เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว

4. เพื่อป้องกันความพิการ หรือความเจ็บปวดอื่นๆที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง







สิ่งที่ผู้ปฐมพยาบาลควรปฏิบัติ





สิ่งที่ผู้ปฐมพยาบาลควรปฏิบัติ

1. ห้ามเลือดถ้ามีเลือดไหลช่วยผายปอดเมื่อจำเป็น
2. ถ้าหยุดหายใจให้รีบผายปอดทันทีจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจเองได้
3. ไม่ควรสัมผัสบาดแผลที่มีเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยโดยตรง
4. ในกรณีที่ผู้ป่วยใส่ฟันปลอมควรนำออกในขณะที่ผู้ป่วยหมดสติ
5. ในกรณีที่ผู้ป่วยสลบหรือหมดสติห้ามให้ดื่มน้ำหรือกินยา
6. ถ้าสงสัยว่ามีกระดูกหักควรเข้าเฝือกชั่วคราวก่อนการเคลื่อนย้าย
7. ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยถ้าไม่จำเป็น
8. ในกรณีผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บสาหัสมาก ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด




ขอบเขตของผู้ทำการปฐมพยาบาล

  




ขอบเขตของผู้ทำการ ปฐมพยาบาล

ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี 2 ประการใหญ่ ๆ คือ

1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง มีขั้นตอนดังนี้
1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด ฯลฯ
1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น

2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้
2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนต์ เป็นต้น
2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้รีบช่วยกู้ชีวิตซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป
2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น ถ้ามีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว ให้คำปลอบโยนผู้บาดเจ็บ ให้กำลังใจ อยู่กับผู้บาดเจ็บตลอดเวลา พลิกตัว หรือ จับต้องด้วยความอ่อนโยนและระมัดระวัง ไม่ละทิ้งผู้บาดเจ็บอาจต้องหาผู้อื่นมาอยู่ด้วยถ้าจำเป็น




ประโยชน์การปฐมพยาบาลเบื้องต้น






ประโยชน์ของการปฐมพยาบาล

1. เพื่อช่วยพยุงชีวิตเอาไว้ ได้แก่ ช่วยในการหายใจ ช่วยห้ามเลือด

2. ให้ผู้ป่วยคลายความทุกข์ทรมานและไม่ให้มีการบาดเจ็บมากขึ้นไปอีก

3. ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว ได้แก่ การดูแลและให้กำลังใจ การให้ยาแก้ปวด การให้ ความอบอุ่น
การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ แต่ถ้าหากได้รับการช่วยเหลือในเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการอาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยนั้น ย่งส่งผลดีต่อการรักษาพยาบาลในขั้นต่อไป ดังนั้นการปฐมพยาบาลจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกคนที่จะต้องเรียนรู้ไว้ เพื่อจะได้สามารถนำมาใช้ในการช่วยเหลือตนเองและคนรอบข้างได้อย่างถูกต้อง








อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฐมพยาบาล




การจัดชุดปฐมพยาบาล





ชุดปฐมพยาบาลประจำบ้าน คือเครื่องมือสำหรับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ต้องประกอบไปด้วยสามสิ่งคือ อุปกรณ์ทำแผล-ยา แผ่นความรู้แนวทางการปฐมพยาบาล และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน อย่างน้อยในชุดปฐมพยาบาลต้องมีทั้งสามสิ่งนี้ไว้สำหรับการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย เช่น การบาดเจ็บจากการพลัดตก การชนกระแทก บาดแผลตัด-ฉีก-แทงทะลุจากวัสดุผลิตภัณฑ์ต่างๆ การบาดเจ็บจากความร้อน ไฟฟ้า สัตว์กัด และสารพิษ เป็นต้น

สิ่งจำเป็นข้อที่ 1 : เครื่องมือในกล่องปฐมพยาบาล
อุปกรณ์ทำแผลเป็นหนึ่งในสามองค์ประกอบหลักของกล่องปฐมพยาบาล ประกอบด้วยเครื่องมือหลายอย่างที่จะใช้ล้างแผล ห้ามเลือด ปิดแผลป้องกันเชื้อโรค หยุดการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อ เครื่องมือเหล่านี้ควรจัดวางเป็นหมวดหมู่ หยิบหาง่าย และมีการตรวจเช็กอยู่สม่ำเสมอเพื่อหาอุปกรณ์ทดแทนเมื่อใช้ไป อุปกรณ์จำเป็นในชุดการปฐมพยาบาลเบื้องต้นประกอบด้วย




1. ถุงมือ 1 คู่ สำหรับผู้ช่วยเหลือ




 เพื่อป้องกันมิให้ผู้ช่วยเหลือสัมผัสถูกเลือด อาเจียน สารคัดหลั่งต่างๆ
(อุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อไคล)หรือสารเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนตัวผู้บาดเจ็บ เพราะหลักการของผู้ช่วยเหลือที่ดีคือตนเองต้องปลอดภัยไว้ก่อน


2. ยาล้างแผล



 เช่น เบต้าดีน แอลกอฮอล์ หากล้างแผลด้วยน้ำสะอาด เช่น น้ำประปา น้ำดื่มสุกที่ทิ้งไว้
ให้เย็น หรือน้ำดื่มสะอาดแล้วไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเหล่านี้ชะล้างหรือเช็ดถูในบริเวณ
แผล เนื่องจากน้ำยาเหล่านี้จะทำลายเนื้อเยื่อได้ แต่สามารถใช้ทำความสะอาดรอบๆ แผลได้
โดยใช้น้ำยาเบต้าดีนเช็ดรอบแผลก่อนจะเช็ดออกด้วยแอลกอฮอล์เพื่อลดจำนวนแบคทีเรียที่อยู่รอบๆ
แผล


3. ผ้าทำแผล (ผ้าก๊อซ) 




ขนาดเล็ก 3 แผ่น ขนาดกลาง 3 แผ่น ขนาดใหญ่ 3 แผ่น ต้องเป็นแบบเก็บไว้ในซองพลาสติก ผ้าก็อซใช้สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว เพื่อป้องกันเชื้อโรค ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือใช้กดบาดแผลที่มีเลือดออกเพื่อห้ามเลือด ผู้ช่วยทำแผลควรล้างมือให้สะอาด เปิดซองห่อผ้าก๊อซ หยิบโดยปากคีบ หรือนิ้วมือ (ที่ล้างแล้ว) โดยสัมผัสเฉพาะส่วนริมๆ เท่านั้น ใช้ผ้าก๊อซให้เหมาะสมกับขนาดของแผล หากมีเลือดออกให้ปิดทับหลายแผ่นได้ยึดผ้าก๊อซกับผิวหนังโดยใช้เทปปิด 2-3แถบ อาจใช้ผ้ายืดพันทับ(คอนฟอร์ม) แต่ต้องไม่แน่นจนเกินไป


4. พลาสเตอร์เทปปิดแผลขนาดต่างๆ




 ใช้สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว


5. กรรไกร 





ใช้ตัดผ้าก็อซหรือตัดผ้าหรือขากางเกงเช่น เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

6. เทปติดแผล




7. ผ้าปิดตา 


 ใช้สำหรับการบาดเจ็บที่นัยน์ตา เช่น กระจกตาถูกบาด ฝุ่นละอองเข้าตา เป็นต้น


8. เข็มกลัด




 ใช้ติดผ้าสามเหลี่ยม ผ้าคล้องคอ ผ้ายืด 


9. สำลี ไม้พันสำลี 




ใช้สำหรับทายาล้างแผลรอบๆ แผล ซับเลือดในแผลที่เป็นรูลึก+


10. ผ้ายืด(อีลาสติกแบนเอด) 




ใช้สำหรับพันเมื่อเกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ ข้อ เพื่อลดการบวม ลดการเคลื่อนไหว หรือใช้พันยึดกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อดามกระดูก ผ้ายืดยังสามารถนำมาพันทับผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์ติดแผลเพื่อห้ามเลือด แต่ห้ามพันแน่นจนเกินไปเพราะทำให้อวัยวะส่วนปลายเกิดการบวมและขาดเลือดมาเลี้ยงได้


11. ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขน 





ปัจจุบันใช้ผ้าคล้องแขนแทนเพราะสะดวกและง่ายต่อการใช้งาน


12. สมุดจดบันทึก





 เพื่อบันทึกอาการ ตำแหน่งที่บาดเจ็บ การรักษาที่ให้ไป เพื่อส่งต่อให้ผู้ดูแลรักษาต่อไป

13. ถุงพลาสติก 1 ใบ





 สำหรับใส่เศษขยะ เช่น ผ้าเปื้อนเลือด เป็นต้น


14. ยาฉุกเฉินสำหรับรับประทาน






 ยาที่ใช้รับประทาน อยู่ภายในกล่องปฐมพยาบาล โดยกล่องบรรจุยานี้ต้องปิดมิดชิดไม่เปิดได้โดยง่าย มีข้อความระบุข้างกล่องชัดเจนว่า เป็นยาสำหรับรับประทาน ควรมียาเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น คือ
1. ยาลดไข้แก้ปวดสำหรับบาดแผลที่มีอาการปวด
2. ผงเกลือแร่สำหรับการบาดเจ็บที่มีการเสียเลือดมาก หรือบาดแผลพุพองจากความร้อนที่มีบริเวณกว้าง หรือผู้ที่มีอาการอาเจียนและท้องเสีย
3. ยากระตุ้นการอาเจียนชื่อ ไซรัปไอพิแคค อาจมีไว้ด้วยก็ได้ สำหรับผู้ที่กินสารพิษ แต่การใช้ต้องปรึกษา ศูนย์พิษวิทยาก่อน เพราะมีสารพิษบางตัวมีข้อห้ามไม่ให้กระตุ้นการอาเจียน เช่น น้ำยาล้างพื้นที่มีฤทธิ์กัด รุนแรง เป็นต้นสิ่งจำเป็น



ข้อที่ 2 : แผ่นความรู้แนวทางการปฏิบัติ

บาดแผลฟกช้ำ คล้ำเขียว บวม
1. ให้ประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือผ้าห่อถุงน้ำแข็งเป็นเวลา 15 นาที ทำซ้ำได้ใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อป้องกันอาการบวม
2. ภายหลัง 24 ชั่วโมง ให้ประคบคลึงด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นวันละ 4 ครั้ง เพื่อลดอาการบวมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. ใน 24 ชั่วโมงแรก ห้าม คลึง หรือนวดด้วยยาร้อน ของร้อน




แบบทดสอบ




1.      การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหมายถึงอะไร
ก.       ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ สถานที่นั้น โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่มีในตอนนั้น
ข.       ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
ค.      ช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุในโรงพยาบาลคนแรก
ง.       ช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยทางอากาศ
2.      ข้อใดไม่ใช่การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ก.       เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่างๆในขณะนั้น
ข.       เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
ค.      เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมานของผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
ง.       เพื่อเป็นการหารายได้พิเศษ
3.      หากผู้ป่วยหยุดหายใจ ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร
ก.       กดแรงๆไปที่หน้าอกเพื่อปั๊มหัวใจ
ข.       เอาพัดหรือกระดาษมาพัดระบายอากาศ
ค.      เอายาดมมาให้ดม
ง.       ผายปอดทันที
4.      การสารเคมีเข้าตา แล้วใช้น้ำสะอาดล้างทันทีเพื่ออะไร
ก.       เพื่อยับยั้งเลือดที่กำลังจะไหล
ข.       เพื่อเอาสารเคมีออก
ค.      เพื่อเป็นการบรรเทาความเจ็บปวดและลดอาการระคายเคือง
ง.       เพื่อไม่ให้สารเคมีนั้นเข้าตาอีก
5.      หากผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสำลักน้ำลายหรือเลือด ควรให้ผู้ป่วยนอนลักษณะใด
ก.       นอนคว่ำ
ข.       นอนตะแคง
ค.      นอนหงาย
ง.       นอนใกล้ๆกับหน้าต่าง
6.      ในการทำแผลที่ไม่ใหญ่มาก แล้วต้องทำความสะอาดแผล ควรใช้ถุงมือหรือไม่
ก.       ควร เพราะความสกปรกจากมือเราจะเข้าสู่แผลนั้นทำให้แผลเกิดการอักเสบได้
ข.       ควร เพราะ มือเราจะเปื้อนเลือด
ค.      ไม่ควร เพราะแผลไม่ใหญ่ ไม่ต้องใส่ก็ได้
ง.       ไม่ควร เพราะเปลืองทรัพยากร
7.      หากผู้ป่วยไม่หมดสติ และยังสามารถพูดคุยกับเราได้ เมื่อเราเจอผู้ป่วยจะทำอย่างไรเป็นขั้นตอนแรก
ก.       ตกใจวิ่งหนีไปเลย
ข.       รีบวิ่งไปบอกหมอหรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
ค.      เดินไปถามคนที่อยู่ใกล้ๆว่าเกิดอะไรขึ้น
ง.       สอบถามการประสบเหตุนั้นจากตัวผู้ป่วย
8.      หากผู้ป่วยกระดูกหัก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องทำอย่างไร
ก.       ดึงกระดูกนั้นออกมา
ข.       เข้าเฝือกชั่วคราว
ค.      ยัดกระดูกกลับไปที่เดิม
ง.       เอาผ้าปิดไว้เพื่อไม่ให้ดูตกใจ
9.      การปฐมพยาบาลเบื้องต้นใช้ไม่ได้กับคนสภาพใด
ก.       คนสูงอายุ
ข.       คนพิการ
ค.      คนตาย
ง.       คนที่กำลังจะตาย
10.  ผู้ป่วยมีแผลฟกช้ำ บวม ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไร
ก.       ใช้ผ้าห่อถุงน้ำแข็งประคบ
ข.       ใช้ผ้าห้อถุงน้ำร้อนประคบ
ค.      ใช้ยานวดทาบริเวณที่ฟกช้ำและบวม
ง.       ใช้สมุนไพรที่มีมาทา